ทักทาย
คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา....
ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือว่าเป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกในหลายๆด้านทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมอันนำไปสู่การปรับตัวเพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ทุกประเทศทั่วโลกกำลังมุ่งสู่กระแสใหม่ของการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า สังคมความรู้ (KnowledgeSociety) และระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-Based Economy) ที่จะต้องให้ความสำคัญต่อการใช้ความรู้และนวัตกรรม (Innovation) เป็นปัจจัยในการพัฒนาและการผลิตมากกว่าการใช้เงินทุนและแรงงาน
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ ซึ่งประกอบกันเป็น "สารสนเทศ" นั้น สามารถลื่นไหลได้สะดวก รวดเร็ว จนสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ระดับบุคคลขึ้นไปถึงระดับองค์กรอุตสาหกรรม ภาคสังคม ตลอดจนในระดับประเทศและระหว่างประเทศ จนกระทั่งภาวะ "ไร้พรหมแดน" อันเนื่องมาจากอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว ได้เกิดขึ้นในกิจกรรมและวงการต่างๆ และนับเป็นความกลมกลืนสอดคล้องกันอย่างยิ่ง ที่การพัฒนาบุคลากรในสังคมอันประกอบด้วยภาคการศึกษา และการฝึกอบรมเป็นเรื่องราวของการเรียนรู้สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นข้อมูล (Data) ข่าวสาร (Information)ก็ตาม ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเครื่องมือที่สามารถนำประโยชน์มาสู่วงการศึกษา ได้อย่างเหมาะสมหากรู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์และคุ้มค่าต่อการลงทุน (ไพรัช ธัชยพงษ์และพิเชษ ดุรงคเวโรจน์ .2541)
เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์ที่เป็นเทคโนโลยีระดับสูงอย่างหนึ่งที่นับว่ามีบทบาทอย่างยิ่งได้แก่ "คอมพิวเตอร์"(Computer) ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกวงการ โดยเฉพาะวงการศึกษาได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นในด้านการบริหาร การบริการ และการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน เป็นต้น
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 ได้ให้ความหมายของ "คอมพิวเตอร์" ไว้ว่า"เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานแทนมนุษย์ในด้านการคำนวณและสามารถจำข้อมูลทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้ เพื่อการเรียกใช้งานครั้งต่อไป รวมทั้งสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ (Symbol) ได้ด้วยความเร็วสูงโดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม นอกจากนี้ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ เช่น การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลไว้ในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้ (ตวงแสง ณ นคร .2542)
คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในวงการศึกษา หรืออาจเรียกว่า คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (Computer-Based Education, Instructional Computer : IC, Computer-Based Instruction : CBI) มีความหมายเหมือนกันคือ การนำคอมพิวเตอร์ มาใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษา ไม่ว่าจะ เป็นการจัดการเรียนการสอน การลงทะเบียน การจัดทำบัตรนักศึกษา การจัดทำผลการเรียนการสอนรวมไป จนถึงการออกใบรับรองการจบหลักสูตร
Robert Taylor นักเทคโนโลยีการศึกษา ได้แบ่งการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ไว้ในหนังสือ the Computer in the School : Tutor, Tutee โดยได้แบ่งการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในโรงเรียนออกเป็น 3 ลักษณะคือ การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของติวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของอุปกรณ์ การเรียนการสอนและการใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของผู้เรียน (ดิเรก ธีระภูธร .2545)
แต่กระบวนการในการจัดการศึกษาในภาพรวม ไม่ได้หมายถึงสถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทั้งนี้ยังมีหน่วยงานทางการศึกษาและองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและสนับสนุนการจัดการศึกษาด้วย
ฉะนั้นบทบาทของคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการศึกษา จึงแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหาร (computer Applications into Administration) การบริหารการศึกษานับเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทาง นโยบาย อันนำไปสู่แนวทางปฏิบัติในการจัดการศึกษา ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น สิ่งสำคัญในการที่จะช่วยให้บริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพก็คือความพร้อมของข้อมูลในการบริหารจัดการเพื่อการตัดสินใจและกำหนดนโยบายการศึกษา คอมพิวเตอร์จึงเข้ามามีบทบาทในการบริหารการศึกษามากขึ้น ซึ่งช่วยให้การดำเนินงานตั้งอยู่บนฐานข้อมูลที่ชัดเจนถูกต้องและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด สรุปได้ดังนี้
1.1 การบริหารงานทั่วไป เป็นการนำคอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารงานบุคคล งานธุรการ การเงินและบัญชีการประชาสัมพันธ์ รวมถึงการจัดทำระบบฐานข้อมูล (Management Information System :MIS) เพื่อประโยชน์ในการวางแผนและบริหารการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
1.2 งานบริหารการเรียนการสอน เป็นการนำคอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารของครูผู้สอนนอกเหนือจากงานด้านการสอนปกติ เช่น งานทะเบียน งานด้านเอกสาร การจัดตารางสอน ตารางสอบ การตรวจและการเก็บรวบรวมคะแนน การสร้าง-วิเคราะห์ข้อสอบ การวัดและประเมินผลการเรียน เป็นต้น
2. คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการเรียนการสอน (Computer -Managed Instruction) การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ครูผู้สอนไม่ต้องเสียเวลากับการงานบริหาร ครูผู้สอนจะได้มีเวลาไปปรับปรุงบทเรียนให้ทันสมัยและมีเวลาให้กับนักเรียนมากขึ้น เช่น การจัดเลือกข้อสอบ การตรวจและให้คะแนนและวิเคราะห์ข้อสอบ การเก็บประวัตินักเรียนเฉพาะวิชาที่สอนเพื่อดูพัฒนาการด้านการเรียนและการให้คำปรึกษา และช่วยในการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการเรียนการสอนของวิชาที่สอน รวมถึงการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการเรียนการสอนจะทำให้ครูผู้สอนสามารถวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อออกแบบและพัฒนาระบบการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงกับวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้เรียน
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer -Assisted Instruction : CAI) คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถ โต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้ เช่นเดียวกับการสอนระหว่างครูกับนักเรียนที่อยู่ในห้องตามปกติ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีหลายประเภทตามวัตถุประสงค์ที่จะให้นักเรียนได้เรียน กล่าวคือ ประเภทติวเตอร์ ประเภทแบบฝึกหัด ประเภทการจำลอง ประเภทเกม ประเภทแบบทดสอบซึ่งในแต่ละประเภทก็มีจุดมุ่งหมายในการให้ความรู้แก่ผู้เรียนแต่วิธีการที่แตกต่างกันไป ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนคือช่วยลดความแตกต่างระหว่างผู้เรียน เช่นผู้ที่มีผลการเรียนต่ำ ก็สามารถชดเชยโดยการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ และสำหรับผู้มีผลการเรียนสูงก็สามารถเรียนเสริมบทเรียนหรือเรียนล่วงหน้าก่อนที่ผู้สอนจะทำการสอนก็ได้
สรุป
แนวโน้มในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษาในปัจจุบันและอนาคตจะเป็นรูปแบบของการเรียนการสอน โดยนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มาผสมผสานกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมีลักษณะเฉพาะ คือ มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลผ่านระบบ World Wide Web ในการใช้เพื่อการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction : WBI) หรือ E-learning ซึ่งวงการศึกษาคงจะหลีกเลี่ยงได้ยากยิ่ง
คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในวงการศึกษา หรืออาจเรียกว่า คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (Computer-Based Education, Instructional Computer : IC, Instructional App.iccations of Computer : IAC, Computer-Based Instruction : CBI) มีความหมายเหมือนกันคือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษา ไม่ว่าจะ เป็นการจัดการเรียนการสอน การลงทะเบียน การจัดทำบัตรนักศึกษา การจัดทำผลการเรียนการสอนรวมไป จนถึงการออกใบรับรองการจบหลักสูตรRobert Taylor นักเทคโนโลยีการศึกษา ได้แบ่งการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ไว้ในหนังสือ the Computer in the School : Tutor, Tutee โดยได้แบ่งการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในโรงเรียนออกเป็น 3 ลักษณะคือ การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของติวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของอุปกรณ์ การเรียนการสอนและการใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของผู้เรียน ซึ่งได้มีนักวิชาการบางท่านเห็นว่ายังคง ขาดในส่วนที่เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารงานด้วย จึงได้มีผู้แยกประเภทของการจัดการใช้ คอมพิวเตอร์ไปอย่างมากมาย ในที่นี้จะทำการแบ่งการนำคอมพิวเตอร์ ออกเป็น 2 ส่วน คือ
Computer-Managed Instruction : CMI การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนนั้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการที่ครูผู้สอนนำคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นเครื่องมือในการจัดทำสื่อ การเรียนการสอน แผนกวิชาการ นำคอมพิวเตอร์เข้ามาจัดตารางสอน การลงทะเบียนเรียน ระเบียนนักเรียน ทำบัตรประจำตัวนักเรียน การจัดตารางการเรียนการสอน เป็นต้น สำหรับในด้านการบริหารแล้ว ผู้บริหาร ก็สามารถที่จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูล จัดทำงบประมาณของแต่ละปี พร้อมทั้งสร้างตาราง และ แผนภูมิเพื่อนำเสนอผลงานผ่านทางจอภาพต่อไป ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้งานเท่านั้น
Computer-Assisted Instruction : CAI คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำคอมพิวเตอร์มา ทำบทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้หรืออาจเป็นการเพิ่มเติมความรู้ให้กับผู้เรียนก็เป็นได้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีหลายประเภทตามวัตถุประสงค์ที่จะให้นักเรียนได้เรียน กล่าวคือ ประเภทติวเตอร์ ประเภทแบบฝึกหัด ประเภทการจำลอง ประเภทเกม ประเภทแบบทดสอบ ซึ่งในแต่ละประเภทก็มีจุดมุ่งหมายในการให้ความรู้แก่ผู้เรียนแต่วิธีการที่แตกต่างกันไป ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนคือ ช่วยลดความ แตกต่างระหว่างผู้เรียน เช่นผู้ที่มีผลการเรียนต่ำ ก็สามารถชดเชยโดยการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ และสำหรับผู้มีผลการเรียนสูงก็สามารถเรียนเสริมบทเรียนหรือเรียนล่วงหน้าก่อนที่ผู้สอนจะทำการสอนก็เป็นได้
สรุป
คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา หมายถึง กาใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างมีระบบและมีการพัฒนาอย่างมีระบบ นอกจากนี้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษายังช่วยให้การเรียนการสอนน่าสนใจอย่างมาก ทำให้ดึงดูดให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนาในด้านต่างๆนอกจากนี้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษายังมีส่วนสำคัญที่ทำให้ ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลได้เรียนรู้เท่าเทียมกับคนที่อยู่ในเมือง
.......คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพและศักยภาพสูงในการคำนวณ และประมวลผล สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
.......ระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์1. การป้อนข้อมูล การพิมพ์ การพูด โดยผ่านอุปกรณ์ที่สำคัญ เช่น เมาส์ คีบอร์ด สแกนเนอร์ ซีดี2. การประมวลผล คำนวณและประมวลผลข้อมูล หรือเรียกว่า CPU3. การแสดงผล แสดงผลการทำงานของ CPU อาจเป็นรูปภาพ ตัวอักษร เสียง ทางจอภาพ เครื่องพิมพ์
........การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษา
1. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการสอนโดยตรง เช่น การฉายเนื้อหาประกอบการบรรยาย คอมพิวเตอร์สามารถทำหน้าที่แทนสื่อต่างๆ เช่น แผ่นใส ภาพนิ่ง
2. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน เช่น การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์มากที่เป็นเอกสารหนังสือ วารสาร โปสเตอร์ ชุดไมโครซอร์ฟออฟฟิต
3. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือการค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้ทั่วไป4. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการเรียนรู้รูปแบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้คอมพิวเตอรืช่วยสอน คือ สื่อการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน
..........ลักษณะสื่อประสมคุณค่าของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
- คิดอย่างมีเหตุผลคือการเรียนการสอนจะเป็นในแง่ฝึกหัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เอง
- รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
- ตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
- ยอมรับและนับถือตนเอง
- รู้จักรับผิดชอบตนเอง
- มีพฤติกรรมซื่อสัตย์ต่อตน
..........คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. สารสนเทศ คือ เนื้อหาสาระที่ได้รับการวิเคราะห์ เรียบเรียงเป็นระบบอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่ผู้สร้างหรือออกแบบบทเรียนกำหนดไว้
2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนแต่ละคนมีความถนัดในการเรียนรู้ต่างกัน การศึกษาบทเรียนรายบุคคลทำใก้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ตามความสะดวก
3. การโต้ตอบ ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียนออกแบบให้มีการตอบโต้ในบทเรียนจะมีผลดี ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจในการตอบโต้ในทันที
.........ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. บทเรียน เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาในลักษณะของบทเรียน โปรแกรมที่เสนอเนื้อหาเป็นส่วนย่อยๆ เป็นการเรียนแบบการสอนของครู
2. ฝึกทักษะและปฏิบัติ
3. จำลองแบบ
4. เกมทางการศึกษา
5. การสาธิต
6. การทดลอง
7. การไต่ถาม
8. การแก้ปัญหา
9. แบบรวมวิธีต่างๆเข้าด้วยกัน
ข้อดีและข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ข้อดี ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ดี ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัดของตน
ข้อจำกัด อาศัยอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นสำคัญ ทำให้ไม่สะดวก มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงติดต่อกันทั่วโลก ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติการ
1. มาตรฐานการสื่อสาร LAN,MAN,WAN ใช้ชื่อว่า TCP/IPTCP ทำหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบความถูกต้องในการรับส่งข้อมูลIP กำหนดที่อยู่หรือแอดเดรสของคอมพิวเตอร์
2. การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
- การเชื่อมต่อโดยตรง จะต้องมีคอมพิวเตอร์เครือข่ายเชื่อมต่อกับโครงข่ายหลักหรือแบ็กโบน โดยต้องมีเราเตอร์ในการเชื่อมต่อ เพื่อขอชื่อโดเมนแล้วติดตั้งเกตเวย์เป็นแบ็กโบน
- การเชื่อมต่อผ่านผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต ใช้สายโทรศัพท์ต่อเข้ากับโมเด็ม
3. ประเภทของอินเตอร์เน็ต
- อินทราเน็ต สื่อสารเฉพาะในองค์การเท่านั้น
- เอ็กทราเน็ต เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ภายนอกระหว่างองค์การกับองค์กับองค์การหรือบุคคล
4. อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา
- การค้นคว้า
- การเรียนและติดต่อสื่อสาร
- การศึกษาทางไกล
- การเรียนการสอนอินเตอร์เน็ต
- การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ต
5. การค้นคว้าความรู้ทางอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ตเนื่องมาจากอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ ที่มีข้อมูลทุกประเภทเก็บอยู่อย่างมากมาย มีการสร้างเว็บไซต์ไว้บนอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก อินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่มีเครื่องอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าหาข้อมูลที่เราต้องการได้การเรียนรู้ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมการเรียนรู้ขจากสื่อทุกชนิด ที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการบันทึก การจัดระบบ การเผยแพร่เพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
.........ลักษณะสำคัญของ อี-เลิร์นนิ่ง
1. การนำเสนอสาระสนเทศในรูปของสื่อประสม เนื้อหาสาระที่นำเสนอให้ผู้เรียนควรมีลักษณะหลากหลายแบบประกอบกัน
2. การขยายโอกาสเกี่ยวกับผู้เรียน สถานที่เรียน เวลาในการเรียน
3. การยืดหยุ่นในการเรียนรู้ การเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนไม่จำเป็นต้องเรียนตามลำดับขั้น ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนหัวข้อใดก่อน/หลัง ได้ตามความสนใจ
4. การโต้ตอบหรือการมีปฆิสัมพันธ์ บทเรียนต้องได้รับการออกแบบให้ผู้เรียนมีชีวิตชีวาจากการนำเสนอสาระสนเทศในลักษณะสื่อประสม และการโต้ตอบกับบทเรียน โดยการตอบคำถามในแบบฝึกหัดและตรวจคำตอบได้ด้วยตนเอง
5. การป้อนผลย้อนกลับ ผู้เรียนต้องได้รับผลการเรียนรู้ทันทีทันใด เมื่อกระบวนการเรียนแต่ละตอนสิ้นสุดลง
กลับหน้าหลัก http://boonsawat111.blogspot.com/
ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือว่าเป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกในหลายๆด้านทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมอันนำไปสู่การปรับตัวเพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ทุกประเทศทั่วโลกกำลังมุ่งสู่กระแสใหม่ของการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า สังคมความรู้ (KnowledgeSociety) และระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-Based Economy) ที่จะต้องให้ความสำคัญต่อการใช้ความรู้และนวัตกรรม (Innovation) เป็นปัจจัยในการพัฒนาและการผลิตมากกว่าการใช้เงินทุนและแรงงาน
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ ซึ่งประกอบกันเป็น "สารสนเทศ" นั้น สามารถลื่นไหลได้สะดวก รวดเร็ว จนสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ระดับบุคคลขึ้นไปถึงระดับองค์กรอุตสาหกรรม ภาคสังคม ตลอดจนในระดับประเทศและระหว่างประเทศ จนกระทั่งภาวะ "ไร้พรหมแดน" อันเนื่องมาจากอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว ได้เกิดขึ้นในกิจกรรมและวงการต่างๆ และนับเป็นความกลมกลืนสอดคล้องกันอย่างยิ่ง ที่การพัฒนาบุคลากรในสังคมอันประกอบด้วยภาคการศึกษา และการฝึกอบรมเป็นเรื่องราวของการเรียนรู้สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นข้อมูล (Data) ข่าวสาร (Information)ก็ตาม ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเครื่องมือที่สามารถนำประโยชน์มาสู่วงการศึกษา ได้อย่างเหมาะสมหากรู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์และคุ้มค่าต่อการลงทุน (ไพรัช ธัชยพงษ์และพิเชษ ดุรงคเวโรจน์ .2541)
เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์ที่เป็นเทคโนโลยีระดับสูงอย่างหนึ่งที่นับว่ามีบทบาทอย่างยิ่งได้แก่ "คอมพิวเตอร์"(Computer) ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกวงการ โดยเฉพาะวงการศึกษาได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นในด้านการบริหาร การบริการ และการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน เป็นต้น
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 ได้ให้ความหมายของ "คอมพิวเตอร์" ไว้ว่า"เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานแทนมนุษย์ในด้านการคำนวณและสามารถจำข้อมูลทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้ เพื่อการเรียกใช้งานครั้งต่อไป รวมทั้งสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ (Symbol) ได้ด้วยความเร็วสูงโดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม นอกจากนี้ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ เช่น การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลไว้ในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้ (ตวงแสง ณ นคร .2542)
คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในวงการศึกษา หรืออาจเรียกว่า คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (Computer-Based Education, Instructional Computer : IC, Computer-Based Instruction : CBI) มีความหมายเหมือนกันคือ การนำคอมพิวเตอร์ มาใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษา ไม่ว่าจะ เป็นการจัดการเรียนการสอน การลงทะเบียน การจัดทำบัตรนักศึกษา การจัดทำผลการเรียนการสอนรวมไป จนถึงการออกใบรับรองการจบหลักสูตร
Robert Taylor นักเทคโนโลยีการศึกษา ได้แบ่งการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ไว้ในหนังสือ the Computer in the School : Tutor, Tutee โดยได้แบ่งการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในโรงเรียนออกเป็น 3 ลักษณะคือ การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของติวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของอุปกรณ์ การเรียนการสอนและการใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของผู้เรียน (ดิเรก ธีระภูธร .2545)
แต่กระบวนการในการจัดการศึกษาในภาพรวม ไม่ได้หมายถึงสถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทั้งนี้ยังมีหน่วยงานทางการศึกษาและองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและสนับสนุนการจัดการศึกษาด้วย
ฉะนั้นบทบาทของคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการศึกษา จึงแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหาร (computer Applications into Administration) การบริหารการศึกษานับเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทาง นโยบาย อันนำไปสู่แนวทางปฏิบัติในการจัดการศึกษา ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น สิ่งสำคัญในการที่จะช่วยให้บริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพก็คือความพร้อมของข้อมูลในการบริหารจัดการเพื่อการตัดสินใจและกำหนดนโยบายการศึกษา คอมพิวเตอร์จึงเข้ามามีบทบาทในการบริหารการศึกษามากขึ้น ซึ่งช่วยให้การดำเนินงานตั้งอยู่บนฐานข้อมูลที่ชัดเจนถูกต้องและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด สรุปได้ดังนี้
1.1 การบริหารงานทั่วไป เป็นการนำคอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารงานบุคคล งานธุรการ การเงินและบัญชีการประชาสัมพันธ์ รวมถึงการจัดทำระบบฐานข้อมูล (Management Information System :MIS) เพื่อประโยชน์ในการวางแผนและบริหารการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
1.2 งานบริหารการเรียนการสอน เป็นการนำคอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารของครูผู้สอนนอกเหนือจากงานด้านการสอนปกติ เช่น งานทะเบียน งานด้านเอกสาร การจัดตารางสอน ตารางสอบ การตรวจและการเก็บรวบรวมคะแนน การสร้าง-วิเคราะห์ข้อสอบ การวัดและประเมินผลการเรียน เป็นต้น
2. คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการเรียนการสอน (Computer -Managed Instruction) การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ครูผู้สอนไม่ต้องเสียเวลากับการงานบริหาร ครูผู้สอนจะได้มีเวลาไปปรับปรุงบทเรียนให้ทันสมัยและมีเวลาให้กับนักเรียนมากขึ้น เช่น การจัดเลือกข้อสอบ การตรวจและให้คะแนนและวิเคราะห์ข้อสอบ การเก็บประวัตินักเรียนเฉพาะวิชาที่สอนเพื่อดูพัฒนาการด้านการเรียนและการให้คำปรึกษา และช่วยในการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการเรียนการสอนของวิชาที่สอน รวมถึงการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการเรียนการสอนจะทำให้ครูผู้สอนสามารถวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อออกแบบและพัฒนาระบบการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงกับวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้เรียน
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer -Assisted Instruction : CAI) คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถ โต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้ เช่นเดียวกับการสอนระหว่างครูกับนักเรียนที่อยู่ในห้องตามปกติ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีหลายประเภทตามวัตถุประสงค์ที่จะให้นักเรียนได้เรียน กล่าวคือ ประเภทติวเตอร์ ประเภทแบบฝึกหัด ประเภทการจำลอง ประเภทเกม ประเภทแบบทดสอบซึ่งในแต่ละประเภทก็มีจุดมุ่งหมายในการให้ความรู้แก่ผู้เรียนแต่วิธีการที่แตกต่างกันไป ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนคือช่วยลดความแตกต่างระหว่างผู้เรียน เช่นผู้ที่มีผลการเรียนต่ำ ก็สามารถชดเชยโดยการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ และสำหรับผู้มีผลการเรียนสูงก็สามารถเรียนเสริมบทเรียนหรือเรียนล่วงหน้าก่อนที่ผู้สอนจะทำการสอนก็ได้
สรุป
แนวโน้มในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษาในปัจจุบันและอนาคตจะเป็นรูปแบบของการเรียนการสอน โดยนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มาผสมผสานกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมีลักษณะเฉพาะ คือ มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลผ่านระบบ World Wide Web ในการใช้เพื่อการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction : WBI) หรือ E-learning ซึ่งวงการศึกษาคงจะหลีกเลี่ยงได้ยากยิ่ง
คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในวงการศึกษา หรืออาจเรียกว่า คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (Computer-Based Education, Instructional Computer : IC, Instructional App.iccations of Computer : IAC, Computer-Based Instruction : CBI) มีความหมายเหมือนกันคือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษา ไม่ว่าจะ เป็นการจัดการเรียนการสอน การลงทะเบียน การจัดทำบัตรนักศึกษา การจัดทำผลการเรียนการสอนรวมไป จนถึงการออกใบรับรองการจบหลักสูตรRobert Taylor นักเทคโนโลยีการศึกษา ได้แบ่งการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ไว้ในหนังสือ the Computer in the School : Tutor, Tutee โดยได้แบ่งการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในโรงเรียนออกเป็น 3 ลักษณะคือ การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของติวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของอุปกรณ์ การเรียนการสอนและการใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของผู้เรียน ซึ่งได้มีนักวิชาการบางท่านเห็นว่ายังคง ขาดในส่วนที่เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารงานด้วย จึงได้มีผู้แยกประเภทของการจัดการใช้ คอมพิวเตอร์ไปอย่างมากมาย ในที่นี้จะทำการแบ่งการนำคอมพิวเตอร์ ออกเป็น 2 ส่วน คือ
Computer-Managed Instruction : CMI การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนนั้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการที่ครูผู้สอนนำคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นเครื่องมือในการจัดทำสื่อ การเรียนการสอน แผนกวิชาการ นำคอมพิวเตอร์เข้ามาจัดตารางสอน การลงทะเบียนเรียน ระเบียนนักเรียน ทำบัตรประจำตัวนักเรียน การจัดตารางการเรียนการสอน เป็นต้น สำหรับในด้านการบริหารแล้ว ผู้บริหาร ก็สามารถที่จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูล จัดทำงบประมาณของแต่ละปี พร้อมทั้งสร้างตาราง และ แผนภูมิเพื่อนำเสนอผลงานผ่านทางจอภาพต่อไป ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้งานเท่านั้น
Computer-Assisted Instruction : CAI คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำคอมพิวเตอร์มา ทำบทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้หรืออาจเป็นการเพิ่มเติมความรู้ให้กับผู้เรียนก็เป็นได้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีหลายประเภทตามวัตถุประสงค์ที่จะให้นักเรียนได้เรียน กล่าวคือ ประเภทติวเตอร์ ประเภทแบบฝึกหัด ประเภทการจำลอง ประเภทเกม ประเภทแบบทดสอบ ซึ่งในแต่ละประเภทก็มีจุดมุ่งหมายในการให้ความรู้แก่ผู้เรียนแต่วิธีการที่แตกต่างกันไป ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนคือ ช่วยลดความ แตกต่างระหว่างผู้เรียน เช่นผู้ที่มีผลการเรียนต่ำ ก็สามารถชดเชยโดยการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ และสำหรับผู้มีผลการเรียนสูงก็สามารถเรียนเสริมบทเรียนหรือเรียนล่วงหน้าก่อนที่ผู้สอนจะทำการสอนก็เป็นได้
สรุป
คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา หมายถึง กาใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างมีระบบและมีการพัฒนาอย่างมีระบบ นอกจากนี้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษายังช่วยให้การเรียนการสอนน่าสนใจอย่างมาก ทำให้ดึงดูดให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนาในด้านต่างๆนอกจากนี้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษายังมีส่วนสำคัญที่ทำให้ ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลได้เรียนรู้เท่าเทียมกับคนที่อยู่ในเมือง
.......คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพและศักยภาพสูงในการคำนวณ และประมวลผล สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
.......ระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์1. การป้อนข้อมูล การพิมพ์ การพูด โดยผ่านอุปกรณ์ที่สำคัญ เช่น เมาส์ คีบอร์ด สแกนเนอร์ ซีดี2. การประมวลผล คำนวณและประมวลผลข้อมูล หรือเรียกว่า CPU3. การแสดงผล แสดงผลการทำงานของ CPU อาจเป็นรูปภาพ ตัวอักษร เสียง ทางจอภาพ เครื่องพิมพ์
........การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษา
1. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการสอนโดยตรง เช่น การฉายเนื้อหาประกอบการบรรยาย คอมพิวเตอร์สามารถทำหน้าที่แทนสื่อต่างๆ เช่น แผ่นใส ภาพนิ่ง
2. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน เช่น การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์มากที่เป็นเอกสารหนังสือ วารสาร โปสเตอร์ ชุดไมโครซอร์ฟออฟฟิต
3. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือการค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้ทั่วไป4. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการเรียนรู้รูปแบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้คอมพิวเตอรืช่วยสอน คือ สื่อการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน
..........ลักษณะสื่อประสมคุณค่าของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
- คิดอย่างมีเหตุผลคือการเรียนการสอนจะเป็นในแง่ฝึกหัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เอง
- รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
- ตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
- ยอมรับและนับถือตนเอง
- รู้จักรับผิดชอบตนเอง
- มีพฤติกรรมซื่อสัตย์ต่อตน
..........คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. สารสนเทศ คือ เนื้อหาสาระที่ได้รับการวิเคราะห์ เรียบเรียงเป็นระบบอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่ผู้สร้างหรือออกแบบบทเรียนกำหนดไว้
2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนแต่ละคนมีความถนัดในการเรียนรู้ต่างกัน การศึกษาบทเรียนรายบุคคลทำใก้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ตามความสะดวก
3. การโต้ตอบ ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียนออกแบบให้มีการตอบโต้ในบทเรียนจะมีผลดี ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจในการตอบโต้ในทันที
.........ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. บทเรียน เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาในลักษณะของบทเรียน โปรแกรมที่เสนอเนื้อหาเป็นส่วนย่อยๆ เป็นการเรียนแบบการสอนของครู
2. ฝึกทักษะและปฏิบัติ
3. จำลองแบบ
4. เกมทางการศึกษา
5. การสาธิต
6. การทดลอง
7. การไต่ถาม
8. การแก้ปัญหา
9. แบบรวมวิธีต่างๆเข้าด้วยกัน
ข้อดีและข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ข้อดี ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ดี ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัดของตน
ข้อจำกัด อาศัยอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นสำคัญ ทำให้ไม่สะดวก มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงติดต่อกันทั่วโลก ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติการ
1. มาตรฐานการสื่อสาร LAN,MAN,WAN ใช้ชื่อว่า TCP/IPTCP ทำหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบความถูกต้องในการรับส่งข้อมูลIP กำหนดที่อยู่หรือแอดเดรสของคอมพิวเตอร์
2. การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
- การเชื่อมต่อโดยตรง จะต้องมีคอมพิวเตอร์เครือข่ายเชื่อมต่อกับโครงข่ายหลักหรือแบ็กโบน โดยต้องมีเราเตอร์ในการเชื่อมต่อ เพื่อขอชื่อโดเมนแล้วติดตั้งเกตเวย์เป็นแบ็กโบน
- การเชื่อมต่อผ่านผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต ใช้สายโทรศัพท์ต่อเข้ากับโมเด็ม
3. ประเภทของอินเตอร์เน็ต
- อินทราเน็ต สื่อสารเฉพาะในองค์การเท่านั้น
- เอ็กทราเน็ต เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ภายนอกระหว่างองค์การกับองค์กับองค์การหรือบุคคล
4. อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา
- การค้นคว้า
- การเรียนและติดต่อสื่อสาร
- การศึกษาทางไกล
- การเรียนการสอนอินเตอร์เน็ต
- การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ต
5. การค้นคว้าความรู้ทางอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ตเนื่องมาจากอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ ที่มีข้อมูลทุกประเภทเก็บอยู่อย่างมากมาย มีการสร้างเว็บไซต์ไว้บนอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก อินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่มีเครื่องอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าหาข้อมูลที่เราต้องการได้การเรียนรู้ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมการเรียนรู้ขจากสื่อทุกชนิด ที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการบันทึก การจัดระบบ การเผยแพร่เพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
.........ลักษณะสำคัญของ อี-เลิร์นนิ่ง
1. การนำเสนอสาระสนเทศในรูปของสื่อประสม เนื้อหาสาระที่นำเสนอให้ผู้เรียนควรมีลักษณะหลากหลายแบบประกอบกัน
2. การขยายโอกาสเกี่ยวกับผู้เรียน สถานที่เรียน เวลาในการเรียน
3. การยืดหยุ่นในการเรียนรู้ การเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนไม่จำเป็นต้องเรียนตามลำดับขั้น ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนหัวข้อใดก่อน/หลัง ได้ตามความสนใจ
4. การโต้ตอบหรือการมีปฆิสัมพันธ์ บทเรียนต้องได้รับการออกแบบให้ผู้เรียนมีชีวิตชีวาจากการนำเสนอสาระสนเทศในลักษณะสื่อประสม และการโต้ตอบกับบทเรียน โดยการตอบคำถามในแบบฝึกหัดและตรวจคำตอบได้ด้วยตนเอง
5. การป้อนผลย้อนกลับ ผู้เรียนต้องได้รับผลการเรียนรู้ทันทีทันใด เมื่อกระบวนการเรียนแต่ละตอนสิ้นสุดลง
กลับหน้าหลัก http://boonsawat111.blogspot.com/